เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
1. ความเป็นอิสระในการพูดโดยปราศจากการตรวจสอบและการจำกัด
2. ความเป็นไปได้ที่จะทำ การใดๆ ตามที่ตนเองต้องการ
3. จัดเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษยชนที่พึงมี
2. ความเป็นไปได้ที่จะทำ การใดๆ ตามที่ตนเองต้องการ
3. จัดเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษยชนที่พึงมี
กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ประเด็นด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
– การแสดงความคิดเห็นโดยไม่เปิดเผยนาม หรือ การปกปิดชื่อ คือการไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่แสดงความคิดเห็น เป็นสิทธิเสรีภาพประการหนึ่งของบุคคลที่พึงมี
– การปกปิดตัวตนที่แท้จริงได้ ทำให้เกิดการใช้สิทธิและเสรีภาพในด้านนี้เกินขอบเขต ขาดจริยธรรม หรือขาดความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายในการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย
ระบบส่งอีเมลนิรนาม (Anonymous remailer)
การแสดงข้อความหมิ่นประมาท
– เป็นการใส่ความผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เกียรติยศ และได้รับความเดือดร้อนโดยไม่มีหลักฐานยืนยัน
กฎหมายได้กำหนดให้การโพสต์
– ข้อความอันเข้าข่ายหมิ่นประมาทนั้น อาจเสี่ยงที่จะเป็นความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพJงและทางอาญาใน 3 มาตราดังนี้
1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท
2. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียงบันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น
3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 423 “ผู้ใดกล่าวหรือแก้ไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหาย แก่ชื่อเสียง หรือ เกียรติคุณ ของบุคคลอื่น ก็ดี หรือ เป็นที่เสียหาย แก่ทางทำมาหากิน หรือ ทางเจริญของเขา โดยประการอื่น ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหาย อย่างใดๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น