Marie - The Aristocats 3
ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวธัญญารัตน์ เพ็ชรไฝ น่ะค่ะ

บทที่ 1


จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

          จริยธรรม (Ethics)คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
          จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้วลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

1. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว


2. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา


3. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท


4. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง


5. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้





ความหมายของศีลธรรม

1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ
2.  หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ

ศีล 5 ประกอบด้วย

1. เว้นจากทำลายชีวิต

2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ 

3. เว้นจากประพฤติผิดในกาม 

4. เว้นจากพูดเท็จ

5. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


ความหมายของจรรยาบรรณ
            ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
ตัวอย่างจรรยาบรรณวิชาชีพครู
1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมและให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน และสร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถและด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งหลาย ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติ ปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ จ้าง วาน ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9. ครูพึงประพฤติและปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาแลวัฒนธรรมไทย สำหรับผู้อยู่ในวิชาชีพครูจะต้องมั่นใจ ในการประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ
ตัวอย่างจรรยาบรรณแพทย์
1. มีเมตตาจิตแก่คนไข้ ไม่เลือกชั้นวรรณ
2. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน
3. มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป
4. มีความละเอียดรอบคอบ สุขุม มีสติใคร่ครวญเหตุผล
5. ไม่โลภเห็นแก่ลาภของผู้ป่วยแต่ฝ่ายเดียว
6. ไม่โอ้อวดวิชาความรู้ให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
7. ไม่เป็นคนเกียจคร้าน เผอเรอ มักง่าย
8. ไม่ลุอำนาจแก่อคติ 4 คือ ความลำเอียงด้วยความรัก ความโกรธ ความกลัว ความหลง (โง่)
9. ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เป็นโลกธรรม 8 คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และความเสื่อม
10. ไม่มีสันดานชอบความมัวเมาในหมู่อบายมุข

ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ
         จริยธรรม หมายความถึง ความประพฤติ (การกระทำ) ที่ดี สมควรหรือถูกต้อง และเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานของการกระทำที่ดี ดังนั้น " จริยธรรมในธุรกิจ "หรือ " จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ " จึงหมายถึง กฎเกณฑ์ที่เป็นข้อปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ องค์ประกอบของจริยธรรมที่สำคัญที่กำกับพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจที่นิยมอ้างถึงเป็นประจำ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นธรรม ความเชื่อถือได้ ความไว้วางใจได้ การรักษาคำพูด เป็นต้น ค่านิยมเชิงจริยธรรมเหล่านี้ เกี่ยวพันกับกิจกรรมและกระบวนการในทุกวงการธุรกิจ 
ความสำคัญของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
           1.  ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสมต่อลูกค้า  ลูกจ้าง  พนักงานตลอดจนมีมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบในงานของตน

            2.  ช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้ใจได้ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

            3. ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้าตลอดจนความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น 

            ทั้งหมดที่กล่าวมา  เรื่องของจริยธรรมทางธุรกิจเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นบรรทัดฐานที่สังคมให้การยอมรับทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคต  จนเป็นกระทั่งเป็นที่มาของหลักธรรมมาภิบาล(Good Governance)       

ความสำคัญของจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม

            จริยธรรมเป็นแนวทางความประพฤติที่จะนำความสุขและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ  ถ้ามนุษย์มีจริยธรรมส่งผลให้มีคุณภาพการตัดสินใจที่ดี  การกระบวนการทุกขั้นตอนของการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม  ถ้ามีการควบคุมเรื่องของจริยธรรมจะส่งผลดีไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการเองเองและผู้อื่น   
       
            เพื่อความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการจะต้องตระหนักในปัจจัยดังนี้
            1.  ความซื่อสัตย์สุจริต   สำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการค้าปลีกเพียงอย่างเดียว  กระบวนการจำหน่ายจะต้องติดต่อกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยตรง  และถือว่าเป็นผู้ซื้อคนสุดท้ายถ้าหากขาดจริยธรรมแล้ว  จะส่งผลกระทบโดยตรงแม้กระทั่งการใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อที่จะให้ได้ผลกำไรสูง  เช่นการดัดแปลงเครื่องชั่ง  ตวง  วัดน้ำหนัก  การปลอมปนสินค้าเพื่อจำหน่าย  การลดปริมาณสินค้าลงบางส่วนหรือฉวยโอกาสกักตุนสินค้าเพื่อจำหน่ายในราคาสูงกว่าเดิมในภาวะขาดแคลน  ทำให้ผู้ซื้อเสียโอกาสหรือผลกระทบจากความซื่อสัตย์สุจริต  จะส่งผลเสียหายในระยะยาวตามมาเรื่องชื่อเสียงในที่สุดเป็นอุปสรรคสำหรับความเจริญรุ่งเรืองของกิจการในอนาคต  ผู้ประกอบการจะต้องตระหนักในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด  เพราะกิจการมีความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดความไว้วางใจจากลูกค้ารวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ  และจะเป็นพื้นฐานของอนาคตด้านความก้าวหน้าของกิจการ  หากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตจะเป็นพื้นฐานของจริยธรรมด้านลบตามมาของผู้ประกอบการเองด้วย 
          ดังนั้นผู้ประกอบการที่ต้องการความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองของตนเองและส่งผลให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับทายาทในอนาคตจะต้องยึดหลักการข้อนี้ไว้เป็นคุณธรรมประจำใจ  ดังคำกล่าวที่ว่า  ซื่อกินไม่หมด   คตกินไม่นาน”  หรือไม่จะเป็นด้านวัตถุดิบในการผลิตไม่ควรมองข้ามเรื่องคุณภาพและปริมาณ  ที่เหมาะสมและได้สัดส่วน

           2. ความขยัน  มีมานะ  เป็นคุณธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะต้องยึดถืออีกข้อหนึ่ง  เป็นคุณธรรมประจำใจ  มีคำกล่าวของชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จด้านการค้าว่า  ขยัน  อดทน  ประหยัด  เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องยึดถือในจิตใจ ไม่ว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางด้านธุรกิจไปเพียงใด จริธรรมข้อนี้จะต้องยึดถือไว้ในใจตลอดกาล   
            
            3. การรักษาสิ่งแวดล้อม  ตอบแทนชุมชน  เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีในการประกอบการ  เป็นการปลูกจิตสำนึกเรื่องความมีวินัยและความมีใจรักในอาชีพจะส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีความศรัทธาและมีความภักดีกับกิจการ

           4.  การดำเนินธุรกิจอย่างถูกกฎระเบียบและข้อบังคับของสังคม   เป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่ผู้ประกอบการถูกบังคับและจะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบ้านเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เพราะเป็นการควบคุมการกระทำบางอย่างที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีเพื่อป้องกันผลเสียที่ตามมาในอนาคต  เช่นการห้ามจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า  18 ปี  ห้ามจำหน่ายวัตถุมีฤทธิ์ต่อจิตประสาทยกเว้นมีใบสั่งจากแพทย์     
  
จริยธรรมสำหรับผู้ใช้ไอที

1.     การละเมิดลิชสิทธิ์ซอฟแวร์ <Software Piracy> การทำซ้ำหรือการเปลี่ยนแปลงการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาซอฟแวร์ หรือ หาผลประโยชน์จากซอฟแวร์ โดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือไม่เสียค่าใช้จ่ายตามลิขสิทธิ์

2.     การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม

3.     ควบคุมการเข้าถึงระบบสารสนเทศขององค์กร

4.     ติดดตั้งและบำรุงรักษา Firewall


บัญญัติ 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำอันตรายผู้อื่น

2. ต้องไม่แทรกแซงหรือรบกวนการทำงานของผู้อื่น


3. ต้องไม่สอดแนม หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น


4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร


5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานหรือพยานที่เป็นเท็จ


6. ต้องไม่คัดลอกซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์ โดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์


7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ


8. ต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน


9. ต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากโปรแกรมที่ท่านกำลังเขียนหรือออกแบบอยู่เสมอ


10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพต่อกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น